แค่ตรวจเลือดก็สามารถหาสารบ่งชี้มะเร็งได้
ในทุกวันนี้ เรามักจะได้ยินกันว่าการตรวจสุขภาพประจำปีของโปรแกรมต่างๆ จะมีการตรวจเลือดหามะเร็งกันเป็นประจำ และนอกจากนี้ บางครั้ง เวลาที่มีความผิดปกติ เช่น เลือดออก หรือมีก้อน และสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งหรือไม่ ผู้คนส่วนใหญ่มักจะถามแพทย์ที่ดูแลว่าตรวจเลือดดูว่าเป็นมะเร็งได้หรือ ไม่ เพราะดูเหมือนจะเป็นวิธีการที่น่าจะสะดวก หรือ เจ็บตัวน้อยที่สุด
ประโยชน์ของสารบ่งชี้มะเร็ง (tumor marker) ในทางคลินิก
- ช่วยวินิจฉัยโรคมะเร็ง
- ช่วยตรวจกรอง (screening) โรคมะเร็งบางชนิดในคนที่มีความเสี่ยง
- ใช้ติดตามผลการรักษาและการกลับเป็นซ้ำของโรคมะเร็ง
- พยากรณ์โรค
- อาจนำไปใช้ช่วยในการเลือกวิธีการรักษาโรคมะเร็ง
การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง หรือ tumor marker จากเลือด เป็นการตรวจหาสารที่ผลิตจากเซลล์มะเร็ง ซึ่งสามารถช่วยแพทย์ได้ในการตรวจหามะเร็งบางกรณี หากพบมีการเปลี่ยนแปลงระดับต่อเนื่องในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง หรืออาจใช้ช่วยติดตามการรักษา หรือบอกการพยากรณ์โรคได้
ดังนั้นไปดูกันเลยว่าถ้าตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้ ฯลฯ จะต้องตรวจ Lab ตัวใดบ้าง
ตรวจค่า AFP เพื่อคัดกรองมะเร็งตับ
ตรวจค่า CEA เพื่อคัดกรองมะเร็งทางเดินอาหาร
ตรวจค่า PSA เพื่อคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก
ตรวจค่า CA125 เพื่อคัดกรองมะเร็งรังไข่
ตรวจค่า CA15-3 เพื่อคัดกรองมะเร็งเต้านม
ตรวจค่า CA 19-9 เพื่อคัดกรองมะเร็งตับอ่อน
ตรวจมะเร็งเต้านม (Digital Mammogram and ultrasound)
ตรวจมะเร็งปากมดโลกโดยวิธี ThinPrep / SurePath
อย่างไรก็ตามผลการตรวจที่ออกมาหากมีค่าต่ำหรือสูงเกินปกติ ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยรายนั้นเป็นมะเร็งอย่างแน่นอน
จำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติมอย่างละเอียดและพิจารณาร่วมไปกับการตรวจอื่นๆ รวมถึงการตรวจซ้ำเป้นระยะ (Follow up)
ติดตามช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอก 3
Facebook : https://www.facebook.com/bangpakok3
LINE Official Account : https://page.line.me/947ptrfh
YouTube : https://youtube.com/channel/UCrWTFEyhNwZtPo2JieYZftw